สร้างเว็บยังไง ให้ Google รัก (ตอนที่ 3)
7. ใส่ คีย์เวริด์ ให้หนาแน่น ภายในหน้าเว็บไซต์
การที่ในหน้าเว็บไซต์ของคุณมี Keyword ที่ซ้ำๆ หลายๆ คำในหน้านั้นๆ นั่นหมายถึงหน้าๆ นั้นของคุณมีข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับคำๆนั้น ซึ่ง Search Engine ให้ความสำคัญกับส่วนนี้ เช่นกัน ซึ่งควรจะมีการซ้ำๆ กันของ Keyword ในหนึ่งหน้าเว็บ ไม่ควรเกิน 20%
8. ขนาดไฟล์ HTML ของหน้าเว็บไซต์ไม่ควรเกิน 32K
ถ้าหน้าเว็บไซต์ของคุณ มีขนาดใหญ่จนเกินไป จะทำให้ Search Engine ไม่สามารถเก็บข้อมูลของหน้าเว็บไซต์คุณได้ ดังนั้นในการออกแบบ ควรไม่ให้มีขนาดไฟล์ HTML ไม่เกิน 32K
9. แลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ
การแลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ และมีเว็บไซต์อื่นๆ ลิงค์มาหาคุณเยอะๆ เป็นการแสดงว่า เว็บไซต์คุณเป็นที่รู้จักจาก ซึ่ง Google จะให้คะแนนของเว็บไซต์คุณ โดยเป็นค่า Page Rank (PR)โดยจะมีการให้คะแนนเอาไว้มีค่าตั้งแต่ 1-10 คะแนน ซึ่งหากเว็บไซต์คุณมีค่า Page Rank สูงก็จะมีผลต่ออันดับในการแสดงใน google
10. ทำ Site Map ให้กับเว็บไซต์ของคุณ
Site Map ก็คือแผนที่เว็ปไซด์ของคุณ ว่าเว็ปไซด์คุณมีหน้าเว็ปต่างๆ อยู่ที่ไหนบ้าง หน้าไหน link ไปสู่หน้าไหน เป็นการรองรับให้ทุกๆ หน้าของเว็ปไซด์คุณถูกเข้าถึงได้ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ Google สามารถทราบได้ว่าในเว็บไซต์ของคุณมีหน้าเว็บอะไรบ้าง
สร้างเว็บยังไง ให้ Google รัก (ตอนที่ 2)
4. หลีกเลี่ยงใช้ออกแบบเว็บไซต์ด้วยเฟรม
เพราะการออกแบบเว็บไซต์ด้วย เฟรม จะทำให้ Search Engine จะไม่สามารถทราบได้ถึงข้อมูลที่มีอยู่ในเนื้อหาในหน้านั้นๆ เพราะเนื้อหาในหน้านั้น ๆได้ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยการใช้เฟรม ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงซะ (การใช้เฟรม คือ การออกแบบหน้าเว็บที่มีหน้าเว็บหลาย ๆส่วนประกอบเข้าด้วยกันในหน้าเดียว)
5. การเขียนเว็บด้วยภาษาง่าย ๆ ไม่ใช่โค๊ดที่สลับสับซ้อน
การออกแบบเว็บไซต์ โดยมี code ที่สั้นและกระชับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์คุณง่ายต่อการค้นหาของ Search Engine อย่าใช้ code ฟุ่มเฟือยจนเกินไป ไม่ใช้ table มากเกินไป ลดการใช้ JavaScript และ CSS เท่าที่จำเป็นเท่านั้น นอกจากนี้ คำค้นหาสำคัญๆ ควรอยู่ส่วนบนๆของเว็บเพจให้มากที่สุด
6. ควรตั้งชื่อไฟล์รูปภาพ และใส่คำอธิบายให้กับภาพ
คุณควรตั้งชื่อไฟล์รูปภาพที่ตรงกับ Keyword ที่คุณต้องการ และควรใส่คำอธิบายภาพ โดยใช้แท็ก alt คำอธิบาย เพื่อทำให้ Search Engine รู้ว่าภาพที่คุณใส่เข้าไปในเว็บไซต์คุณคือภาพอะไร และเกี่ยวกับอะไร ซึ่งจะมีผลต่อการค้นหาของ Search Engine ด้วย
01:29 | ป้ายกำกับ: code, frame, google, search engine, seo, website | 0 Comments
สร้างเว็บยังไง ให้ Google รัก (ตอนที่ 1)
1. ใส่ Keyword ใน Title ของหน้าเว็บ
การใส่ Key Word ในหน้าเว็บไซต์ในส่วนของ Title จะช่วยทำให้ Search Engine รู้ว่าเว็บไซต์หน้านั้นๆ ของคุณ มีข้อมูลเกี่ยวกับอะไร ซึ่งข้อมูลนี้จะแสดงอยู่ในตำแหน่งบนด้านบนสุดของบราวเซอร์ ซึ่งตำแหน่งนี้ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญส่วนหนึ่ง
2. การใส่ Key Word ที่ต้องการในส่วนด้านบนของเว็บไซต์และการเน้นด้วยตัวหนา
การเน้น Key Word ที่ต้องการในหน้าเว็บไซต์ด้านบน และมีการเน้น key word ภายในหน้าเว็บไซต์ด้วยตัวหนา จะเป็นการเน้นให้ Search Engine รู้ว่า นี้คือคำที่เราต้องการเน้นและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ซึ่ง Search Engine จะให้ความสำคัญและน้ำหนักกับ Key Word เหล่านี้
3. หลีกเลี่ยงการออกแบบเว็บไซต์ด้วย Flash หรือรูปภาพเยอะ ไม่มีตัวหนังสือ
เพราะ Google จะอ่านจากโค๊ดของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งหากเว็บไซต์คุณ มีแต่ภาพ และยิ่งเป็น Flash ด้วยแล้วละก็ Google จะไม่รู้จักเว็บไซต์คุณเลยว่าเกี่ยวกับอะไร คุณควรปรับเปลี่ยนเพิ่ม ตัวหนังสือเข้าไปในเว็บไซต์ เพื่อให้ Google ได้รู้จักเว็บไซต์อของคุณ
03:18 | ป้ายกำกับ: google, keyword, seo, website | 0 Comments
หลักการตรวจสอบหมายเลขบัตรประชาชน
เราจะตรวจสอบรหัสบัตรประชาชนได้อย่างไร...
คุณคงเคยเห็นแบบฟอร์มในการสมัครสมาชิกของหลายๆ เว็บไซต์บังคับให้กรอกเลขที่บัตรประชาชน เช่น เว็บขายของ, เว็บประเภทเกมส์ออนไลน์, ฯลฯ ก็พลันคิดไปว่าต้องตรวจสอบโดยการติดต่อฐานข้อมูลของก ระทรวงมหาดไทยเลยเหรอ
อันที่จริงมันไม่ซับซ้อนอย่างที่คิด ในการตรวจสอบเลขที่บัตรประชาชนนั้นทำได้โดยการใช้ Check Digit หรือการตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้ตัวเลขหลักสุดท้ายใน การตรวจสอบ Algorithm ของวิธีการใช้ Check Digit มีดังนี้
1. ตัวเลขบนบัตรประชาชนจะมีทั้งหมด 13 หลัก นำเลขใน 12 หลักแรก มาคูณกับเลขประจำตำแหน่ง (เลขประจำหลักได้แก่ 13 บวก 1 ลบด้วยตำแหน่งที่) จะได้ตัวเลขประจำตำแหน่งที่ใช้ในการคำนวณคือจำนวนตัวเลขทั้งหมดที่ต้องการตรว จสอบ
2. หลังจากนั้นเอาผลคูณของทั้ง 12 หลักมารวมกัน แล้ว modulation (การหารเอาเศษ) ด้วย 11
3. เอาเศษที่ได้จากการหารในข้อ 2 มาลบด้วย 11 เท่านี้ก็ได้เลขที่เป็น Check Digit แล้ว (ถ้าผลจากข้อ 2 ได้ 10 ให้เอาเลขหลักหน่วยเป็น Check Digit ก็คือ 0 นั้นเอง)
ตัวอย่าง 1-2345-67890-12-9นำไปคูณเลขประจำตำแหน่ง (1*13)+(2*12)+(3*11)+(4*10)+(5*9)+(6*8)+(7*7)+(8*6 )+(9*5)+(0*4)+(1*3)+(2*2) = 352modulation 11 .... 352%11= 0นำ 11 ตั้งแล้วลบด้วย 0 11 - 0 = 11 เอาเลขหลักหน่วย ดังนั้น Check Digit คือ 1
อ้าว... นี้มันเลขที่บัตรประชาชนไม่ถูกต้องนี้ ที่ถูกต้องคือ 1-2345-67890-12-1
08:32 | ป้ายกำกับ: 13หลัก, ตรวจสอบ, เลขที่บัตรประชาชน | 0 Comments